• แนวทางการศึกษา กรอบแนวคิด และทฤษฏีรัฐประศาสนศาตร์
  • แนวทางการศึกษา กรอบแนวคิด และทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์


    นายสุรศักดิ์ ชะมารัมย์


    อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


    การที่จะศึกษาศาสตร์หรือแขนงวิชาการใดๆให้เข้าใจอย่างถ่องแท้นั้น ผู้ศึกษาจ าเป็นจะต้องทำความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์นั้นๆเป็นเบื้องต้นเสียก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากแนวคิดและทฤษฎี 1 จะเป็นพื้นฐานส าคัญที่จะช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจธรรมชาติของศาสตร์นั้นๆได้เป็นอย่างดี รัฐประศาสนศาสตร์ก็เช่นเดียวกันที่เป็นวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีแนวคิดและทฤษฎีที่เกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้มาเป็นระยะเวลาช้านาน อย่างเป็นทางการก็ย้อนไปเมื่อปีค.ศ. 1887
    จากผลงานอันเลื่องชื่อของวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ที่มีชื่อว่าการศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร (The Study of Administration) ซึ่งได้นำเสนอเรื่องแนวคิดการเมืองแยกออกจากการบริหาร (PoliticAdministrative Dichotomy) ส่วนที่ไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะในทางปฏิบัติก็นับตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติดังที่ไคเดน (Caiden, อ้างถึงในปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2552: 72) ได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “รัฐประศาสนศาสตร์มีความเก่าแก่เท่ากับสังคมที่ศิวิไลซ์...นักปรัชญาเกือบทุกท่านในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้แสดงความคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับธรรมชาติของการเมือง


    ดาวน์โหลดบทความ >>>

  • ผู้เขียน : สุรศักดิ์ ชะมารัมย์,
  • เผยแพร่ : 2016-04-20

© 2022 articles.reru.ac.th ระบบสารสนเทศนำเสนอบทความทางวิชาการ
จัดทำและพัฒนาโดย ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด