• รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับมิติการประยุกต์ใช้ในการบริหารการบริการสาธารณะของภาครัฐไทย
  • รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับมิติการประยุกต์ใช้ในการบริหารการบริการสาธารณะของภาครัฐไทย
    นายสุรศักดิ์ ชะมารัมย์
    อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
    คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
    บทนำ
    หากจะกล่าวถึงเรื่องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Government กล่าวได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่
    เกิดขึ้นในแวดวงการบริหารราชการมาเป็นเวลาสักระยะหนึ่งแล้ว อันเป็นผลเนื่องมาจากบริบทของการบริหาร
    จัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ที่ให้ความส าคัญกับผลสัมฤทธิ์ทั้งในแง่ของผลผลิต
    ผลลัพธ์ และความคุ้มค่าของเงิน รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพ และสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการ โดย
    มุ่งเน้นการน าเอาเทคนิคหรือวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจัดเป็น
    เทคนิคหรือวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่อย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการน ามาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการ
    บริหารด้านงานบริการสาธารณะของภาครัฐ (e-Public Service) ซึ่งท าให้ระบบราชการมีความทันสมัยยิ่งขึ้น
    หน่วยงานภาครัฐของไทยได้มีการน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบที่เรียกว่า “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
    (e-Government)” เพื่อการให้การส่งมอบบริการสาธารณะไปยังประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง เช่น
    ระบบบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์หรือบัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card) การจัดซื้อ (e-Procurement) ระบบ
    ทะเบียนราษฎรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ระบบการท าหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
    Passport หรือ E-passport) ระบบการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government
    Fiscal Management Information System – GFMIS) การช าระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Revenue) เป็น
    ต้น


    ดาวน์โหลดบทความ >>>

  • ผู้เขียน : สุรศักดิ์ ชะมารัมย์
  • เผยแพร่ : 2016-04-20

© 2022 articles.reru.ac.th ระบบสารสนเทศนำเสนอบทความทางวิชาการ
จัดทำและพัฒนาโดย ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด