• โครงสร้างและหลักการบริหารราชการไทยในสมัยปฏิรูปประเทศ
  • โครงสร้างและหลักการบริหารราชการไทยในสมัยปฏิรูปประเทศ
    นายสุรศักดิ์ ชะมารัมย์
    อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
    คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


    บทนำ


    กล่าวได้ว่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบการบริหารประเทศมิได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบ การบริหารในสมัยอยุธยามากนัก ตราบจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อันเป็นระยะเวลาที่ประเทศไทยได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อน วัฒนธรรมและอารย ธรรมต่างๆ ได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทย ประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหาเมืองขึ้นของชาติตะวันตก 2 ชาติคือ อังกฤษ และฝรั่งเศส ก าลังคุกคามเข้ามาใกล้กับประเทศไทย และประการส าคัญที่สุดก็คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ได้คาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่าง ถูกต้อง จึงได้ด าเนินรัฐประศาสโนบายเพื่อน าประเทศไทยให้รอดพ้นวิกฤตการณ์จากการคุกคามทางการเมือง และน าประเทศสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่ โดยการปฏิรูปในด้านต่างๆให้ทันสมัย รวมทั้งปฏิรูปการบริหารราชการ (Administrative Reform) ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิรูประบบราชการครั้งส าคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติ ไทย จนน าประเทศไทยให้รอดพ้นจากการถูกยึดครองจากประเทศมหาอ านาจตะวันตก และน าความเจริญรุ่ง เรื่องนานัปการมาสู่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทย


    ดาวน์โหลดบทความ >>>

  • ผู้เขียน : สุรศักดิ์ ชะมารัมย์
  • เผยแพร่ : 2016-04-20

© 2022 articles.reru.ac.th ระบบสารสนเทศนำเสนอบทความทางวิชาการ
จัดทำและพัฒนาโดย ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด