
- การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : กรณี จังหวัดร้อยเอ็ด
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : กรณี จังหวัดร้อยเอ็ด
เจ้าของผลงาน ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แก้วเวียง นำนาผล ๒. อาจารย์ ดร.เดือนเพ็ญ รักษ์แพทย์ ๓. อาจารย์จุฑาลักษณ์ แสนโท ๔. อาจารย์ณมน ธนินธยางกูร ๕. อาจารย์เชษฐพัฒน์ สิริวัฒนตระการ ๖. อาจารย์ประภาภรณ์ รัตโน ๗. อาจารย์ ดร.สุรชัยÂ อาจกล้า ๘. รองศาสตราจารย์เสริมศรี สุทธฺสงค์ และคณะ
ความเป็นมาและความสำคัญ
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ สมาคมประชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The association of South East Asian Nations: ASEAN) ได้ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) จำนวน ๕ ประเทศ และเพิ่มเป็น ๑๐ ประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การบริการและแรงงานต่างๆจะเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ซึ่งจะเกิดผลกระทบทั้งด้านประโยชน์และข้อจำกัด การเตรียมพร้อมของประเทศไทยได้มีการดำเนินการเรื่อยมา แต่ยังคงเป็นไปในเพียงบางส่วน ยังไม่ครอบคลุมทั้ง ๓ เสาหลักเท่าใดนัก ในส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เนื่องจากโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม การค้าส่งและค้าปลีก และการบริการ ดังนั้นการบริหารจัดการเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงต้องมีการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทุกภาคส่วนต้องระดมความคิดและวางแผน ดำเนินการร่วมกัน โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและ การพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
- ผู้เขียน : ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แก้วเวียง นำนาผล ๒. อาจารย์ ดร.เดือนเพ็ญ รักษ์แพทย์ ๓. อาจารย์จุฑาลักษณ์ แสนโท ๔. อาจารย์ณมน ธนินธยางกูร ๕. อาจารย์เชษฐพัฒน์ สิริวัฒนตระการ ๖. อาจารย์ประภาภรณ์ รัตโน ๗. อาจารย์ ดร.สุรชัยÂ อาจกล้า ๘. รองศาสตราจารย์เสริมศรี สุทธฺสงค์ และคณะ
- เผยแพร่ : 2015-09-23
© 2022 articles.reru.ac.th ระบบสารสนเทศนำเสนอบทความทางวิชาการ
จัดทำและพัฒนาโดย ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด